Loading...
Home

ประกาศพระราชบัญญัติคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 โดยมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง และเพื่อให้ผู้ที่รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องมีกระบวนการหรือมาตรการในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ข้อควรรู้เกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

 

ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร

ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ และผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คือ ตัวผู้ที่เป็นเจ้าของมิใช่ผู้ที่รวบรวมข้อมูล

Go Back To Home
 

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลต้องขอความยินยอมหรือไม่

ตามมาตรา 19 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคล ไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนหรือในขณะนั้น เว้นแต่บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้กระทำได้ การขอความยินยอมต้องทำโดยชัดแจ้ง เป็นหนังสือหรือทำโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ โดยสภาพไม่อาจขอความยินยอมด้วยวิธีการดังกล่าวได้

Go Back To Home
 

การขอความยินยอมทำได้อย่างไร

จะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบโดยชัดเจน คำนึงถึงความเป็นอิสระแก่เจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ในการเข้าทำสัญญาหรือบริการได้ ต้องไม่มีเงื่อนไขการยินยอมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาหรือบริการ

Go Back To Home
 

การขอถอนความยินยอมทำได้หรือไม่

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถถอนความยินยอมได้ เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมโดยกฎหมายหรือ สัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ การถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
ในกรณีที่การถอนความยินยอมส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องใด ผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลทราบถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอมนั้น

Go Back To Home
 

Privacy Notice คืออะไร

Privacy Notice คือ ประกาศที่แจ้งให้กับผู้ใช้งานทราบว่า เราใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานสำหรับวัตถุประสงค์อะไร และแจ้งสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานทราบว่าผู้ใช้งานมีสิทธิ์อะไรบ้าง

Go Back To Home

ฐานกฎหมายสำหรับการประมวลผลข้อมูล 7 อย่างมีอะไรบ้าง

1. ฐานความยินยิม 2. การจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติ 3. ป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือสุขภาพของบุคคล (ยึดตามประโยชน์ด้านร่างกายหรือสุขภาพเป็นหลัก) 4. จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญา 5. จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ เช่น ไฟฟ้า ประปา 6. จำเป็นพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลอื่น 7. การปฏิบัติตามกฏหมาย เช่น สรรพากรเก็บภาษี

Go Back To Home

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิ์อะไรบ้าง

1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ 2. สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล 3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล 4. สิทธิคัดค้านการรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 5. สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล 6. สิทะิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล 7. สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

Go Back To Home